วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข้อพึงละเว้นของข้าราชการ

ข้อที่พึงละเว้น
      -   ไม่นินทานาย หรือกล่าวถึงส่วนไม่ดีของนายให้ผู้ใดฟังทั้งสิ้น
      -   ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของนายให้ผู้อื่นทราบแม้คนใกล้ชิดในครอบครัวของเรา
      -   ไม่ปิดบังเรื่องใด ๆ กับนายแม้ความผิดของตัวเองก็ยอมรับผิดอย่างตรงไปตรงมา
      -   ไม่ฟ้องนายในเรื่องที่เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องทำผิดพลาด บางเรื่องกลับต้องออกรับหน้าแทนเสียเอง
      -   ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานในทุกเรื่อง
      -   ไม่เห็นแก่ตัวเอาความดีใส่ตัวเพียงคนเดียว หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
      -   ไม่งอนหรือแสดงสีหน้าไม่พอใจนาย เมื่อนายใช้อารมณ์กับเรา
      -   ไม่เถียงนายต่อหน้าผู้อื่น ใช้วิธีขออนุญาตชี้แจงเมื่อไม่มีคนอื่นแล้ว
      -   ไม่ต้องให้นายสั่งไปเสียทุกเรื่อง
      -   ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของนาย
      -   ไม่ทำหรือส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นายทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง
      -   ไม่ประพฤติตนผิดศีลธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ, กฎหมายบ้านเมือง จนมีเรื่องเดือนร้อนมาถึงนาย
      -   ไม่รับสินบนหรือของกำนัลในลักษณะสินบนจากบุคคลอื่น
      -   ไม่ใช้หน้าที่และฐานะที่อยู่หน้าห้องนาย เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง หรือคนในครอบครัวในทางที่ไม่สมควร
      -   ไม่นำพวกพ้องหรือคนในครอบครัวมาเป็นภาระให้นายช่วยเหลือ
      -   ไม่ร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องส่วนตัวใด ๆ จากนาย ยกเว้น นายยื่นมือเข้าช่วยเหลือเอง
      -   ไม่กีดกันบุคคลใด ๆ ไม่ให้เข้าพบหรือติดต่อกับนาย ยกเว้นบุคคลที่นายสั่งไว้ (ไม่หวงนาย)
      -   ไม่ตัดสินใจหรือออกความเห็นแทนนายในเรื่องที่บุคคลในหน่วยงานขอให้ถามนาย
      -   ไม่แก้หนังสือของหน่วยรอง และส่งกลับคืนเสียเองก่อนนำเรียนนาย
      -   ไม่ตอบนายว่า ไม่ทราบอยู่เสมอ ๆ ควรใช้คำพูดว่า ขออนุญาตไปตรวจสอบก่อน
      -   ไม่ใช้โทรศัพท์ของนาย หรือเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้นายไปติดต่อเรื่องส่วนตัว
      -   ไม่ฉวยโอกาสแสวงประโยชน์ส่วนตัวจากบุคคลที่มาติดต่อกับนายหรือแขกของนาย
      -   ไม่เปิดเผยข้อราชการหรือการสั่งการของนายที่เป็นเรื่องลับ หรือเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผยทั่วไป ให้แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
      -   ไม่อ้างนายหรือคำสั่งนาย หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นคำสั่งนาย ต่อผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน
      -   ไม่ขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของงานของนายในวันนั้น

จริยธรรมของข้าราชการ

      จริยธรรมต่อตนเอง
         ๑.   เป็นผู้มีศีลธรรม  และประพฤติตนเหมาะสม
         ๒.   ซื่อสัตย์
         ๓.   มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

      จริยธรรมต่อหน่วยงาน
         ๑.   สุจริต  เสมอภาค  ปราศจากอคติ
         ๒.   ทำงานเต็มความสามารถ  รวดเร็ว  ขยัน  ถูกต้อง
         ๓.   ตรงต่อเวลา
         ๔.   ดูแล  รักษา  และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด

การ์ตูนคุณธรรม ๘ ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อะไรดีๆที่เราต้องช่วยกันแชร์

บทสรุปของคุณธรรมและจริยธรรม

   คุณธรรมและจริยธรรมเปรียบเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนเรา  ผู้ที่ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นผู้ที่มีมานะอดทน  อดกลั้น  ทำให้กลายเป็นคนใจเย็น  มีน้ำใจ  มีสมาธิ  ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุข  การที่สามารถนำคุณธรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี  การฝึกนั่งสมาธิก็เป็นวิธีการง่ายๆที่สามารถฝึกทำกันได้ทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก  วัยรุ่น  ผู้ใหญ่  หรือผู้สูงอายุ  การนั่งสมาธิจะทำให้เรามีสติและดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง  ไม่ประมาท  ตามแนวคิดของอริสโตเติลที่ว่าความรอบคอบ  ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ  และความยุติธรรม

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


คุณธรรมนำความรู้สู้ชีวิต


     คุณธรรมนำความรู้สู้ชีวิต                  
ควรมีจิตโอบอ้อมพร้อมศึกษา
เป็นนักปราชญ์ผู้ที่มีเมตตา                
เพื่อนำพาชีวิตก้าวหน้าไป                                                   
คุณธรรมนำความรู้สู่จุดหมาย            
เป็นดั่งทรายที่ทอแสงอันสดใส
เพื่อนำทางให้เราก้าวเดินไป              
ประสพชัยในหน้าที่และการงาน


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณธรรม จริยธรรมตามหลักพุทธศาสนา ที่บุคคลควรยึดถือปฏิบัติในการดำรงชีวิต


- เมตตา และ กรุณา ความรักใคร่ ปรารถนา ให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญ และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
- สัมมาอาชีวะ ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
- การสังวร มีความสำรวมระวัง รู้จักยั้บยั้ง ควบคุมในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
- สัจจะ ความซื่อตรง
- สติสัมปชัญญะ ระลึกได้ และรู้ตัวอยู่เสมอ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรกระทำ สิ่งใดไม่ควรกระทำ ระวังมิให้ตนเองมีความมัวเมาและประมาท

การเป็นคนดี...รับผิดชอบต่อสังคม


แนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าถึงคุณธรรมในการดำรงชีวิตที่รับผิดชอบต่อสังคม คนดี มีคุณธรรม มีศีลธรรมประจำใจ จึงต้องมีแนวทางปฏิบัติ ในฐานะพลเมืองดี ผู้รับผิดต่อสังคม คือ
๑. มีวินัยในตนเอง เด็ดเดี่ยว บังคบใจตนเองได้ สามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่ตนต้องการจะกระทำ และละเว้นสิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการจะละเว้นได้ สามารถจูงใจตนเองได้
๒. มีความกล้าหาญทางจริยธรรม กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตน รักษาสิทธิ์ของตนเอาไว้ เมื่อเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ต้องกล้าที่จะคัดค้าน แสดงความไม่เห็นด้วย หรือแสดงประชามติร่วมกัน เพื่อแสดงความไม่พึงใจ หรือเพื่อให้ฝ่ายที่กระทำผิด หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้รู้ตัว หรือละเลิกการกระทำนั้นๆ เสีย
๓. มีจิตใจ หรือมีจิตสาธารณะ มีจิตใจกว้างขวาง มุ่งรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ให้มาก่อนประโยชน์ส่วนตนเสมอ หากร่ำรวยมีเงินทอง มีฐานะแล้ว เมื่อมีโอกาสที่ จะช่วยเหลือกิจการสาธารณะ หรือช่วยเหลือผู้ตกทุกข์คับแค้น ผู้ผจญกับทุพพิกขภัย วาตภัย อุทกภัย ก็ให้ความช่วยเหลือบ้างตามกำลังศรัทธา
๔. มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สมบัติกลางของส่วนรวมสิ่งใดที่เป็นของสาธารณะ เช่น ถนนหนทาง บ่อน้ำ ฝายน้ำล้น แม่น้ำลำครอง จะต้องหวงแหน ร่วมกันทำนุบำรุงรักษาเอาไว้ เพื่อให้คนทั้งหลายได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
๕. มีความผูกพันและยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ทำงานร่วมกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น แสดงมติ และลงมือกระทำการต่างๆ เหล่านั้นด้วยกัน มุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม มีความพร้อมเพรียงสมานฉันท์กันดี
๖. ให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มและสมาคม ยินดีและเต็มใจร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่กลุ่ม และสมาคมริเริ่มขึ้นมา เป็นงานอาสาสมัคร งานที่ร่วมกันทำบุญทำกุศลเพื่อช่วยเหลือ สงเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ แก่สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทำดีได้ดี คุณช่วยเขา เขาก็ช่วยคุณ

    วังจื้อเหยิน มีอาชีพขายใบชา มีฐานะค่อนข้างดี เขาอายุ 40 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีบุตรชายเลย วันหนึ่งเขาออกไปเดินเล่นพบหมอดูคนหนึ่งชื่อไส้หลิ่วจวง จึงแวะเข้าไปขอให้เขาทำนายดวงชะตา หมอดูพินิจดูหน้าตาเขาอย่างละเอียดแล้วก็บอกว่า คุณวังจื้อเหยิน อย่าโมโหนะ ตามลักษณะโหงวเฮ้งของคุณ เรื่องบุตรชายสืบสกุลนั้นอาจพูดได้ว่าไม่มีหวังและ  จื้อเหยินเห็นหมอดูพูดค้างไว้ก็ถามว่า ไม่มีบุตรชายก็แล้วไป แล้วมีอะไรอีก? บอกมาตรง ๆได้เลย หมอดูกล่าวว่า คุณใจเย็นหน่อยนะ ผมจะบอกเดี๋ยวนี้ ตามลักษณะโหงวเฮ้งของคุณจื้อเหยิน เดือนสิบปีนี้จะประสบภัยพิบัติและสิ้นอายุขัย จื้อเหยินได้ฟังดังนั้นรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ หลังจากจ่ายค่าทำนายแล้วก็กลับบ้านทันที
     ตั้งแต่จื้อเหยินถูกหมอดูทำนายว่าจะมีภัยในเดือนสิบ ต้นเดือนเก้าคุณวังก็ไปที่ซูโจว เก็บบัญชีตามร้านค้าต่าง ๆ เพื่อปิดบัญชีจบเรื่องทางโลก  จื้อเหยินพักอยู่ที่โรงแรมเดือนกว่า เมื่อเก็บบัญชีเรียบร้อยแล้ว มีเวลาว่างก็ออกไปเดินเล่นข้างนอก ขณะนั้นก็เห็นมีหญิงคนหนึ่งเดินไปที่แม่น้ำแล้วก็โดดลงไปในน้ำ จื้อเหยินตกตะลึงหันไปเห็นเรือหาปลาลำหนึ่งกำลังพายผ่านมาใกล้ที่เกิดเหตุจึงตะโกนร้องเรียก คุณ...รีบลงไปช่วยคนเร็ว เราจะให้เงิน คนหาปลาได้ยินก็โดดลงไปในน้ำ สักครู่หนึ่งก็ลากหญิงคนนั้นขึ้นมาบนฝั่ง จื้อเหยินให้รางวัลเขา 10 ตำลึง เมื่อหญิงคนนั้นฟื้นขึ้นมาจื้อเหยินก็ถามนางถึงสาเหตุการคิดสั้น นางบอกว่า ตอนสามีฉันไปทำงาน ที่บ้านหมูที่เลี้ยงไว้หนึ่งตัว ฉันได้ขายมันไปได้เงินแปดตำลึง วันนี้เอาเงินไปจ่ายค่าเช่าจึงรู้ว่าเป็นเงินปลอม ด้วยเกรงว่าสามีกลับมาจะถูกด่าว่า จึงจัดสินใจโดดน้ำตายให้จบเรื่อง จื้อเหยินรู้สึกสงสารมากจึงเพิ่มให้อีกเท่าหนึ่ง โดยมอบเงิน 16 ตำลึงให้นาง นางถามชื่อแซ่และที่อยู่ ขอบอกขอบใจเป็นการใหญ่แล้วก็จากไป
      จื้อเหยินได้ช่วยชีวิตคน จิตใจรู้สึกสบาย ตอนค่ำกลับถึงโรงแรมก็เข้านอนเลย ส่วนหญิงคนนั้นเมื่อกลับไปบ้านผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกแล้ว พอดีสามีกลับมาจึงเล่าเรื่องทุกอย่างที่เกิดขึ้นให้ทราบ สามียังรู้สึกคลางแคลงใจ จึงถามถึงที่พักของจื้อเหยินแล้วพาลูกเมียไปที่โรงแรมเพื่อถามไถ่ให้กระจ่าง จื้อเหยินกำลังนอนหลับอยู่พลันได้ยินเสียงเคาะประตูก็ถามว่า ใคร? คนนอกห้องตอบว่า คนที่โดดน้ำตายมาขอบพระคุณค่ะ จื้อเหยินพูดเสียงดังว่า ดึกดื่นค่ำคืนเช่นนี้ ชายกับหญิงจะพบกันสองต่อสองได้อย่างไร? สามีของนางได้ยินเช่นนี้ ก็รู้ว่าเขาเป็นคนมีคุณธรรมจึงบอกว่า คุณ.....เราสองคนผัวเมียมาด้วยกัน จื้อเหยินได้ฟังก็ใส่เสื้อออกมาเปิดประตู สองผัวเมียคุกเข่ากล่าวว่า เราทั้งสองขอคารวะท่านผู้มีพระคุณ โครม! เสียงปานฟ้าถล่มทลาย ฝาผนังห้องเกิดถล่มลงมาตรงเตียงของจื้อเหยินพอดี ทุกคนตกตะลึง ต่างอุทานว่า อามิตตาพุทธ สามีภรรยาขอบคุณแล้วขอบคุณอีกแล้วก็จากไป
     หลังจากจื้อเหยินผ่านพ้นอันตรายจากฝาผนังถล่มแล้ว วันรุ่งขึ้นก็โดยสารเรือกลับบ้าน ซึ่งตอนนี้เป็นเดือน 11 แล้ว วันหนึ่งได้ออกไปข้างนอกผ่านไปที่หมอดูหลิ่วจวง ขณะกำลังคิดจะถามหลิ่วจวงเห็นเข้าก็กล่าวว่า โอ รอยอัปมงคลบนใบหน้าของคุณหายไปจนหมด คุณคงไปสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่มาแน่ๆ จื้อเหยินได้เล่าเรื่องการช่วยชีวิตคนและเรื่องฝาผนังถล่ม หมอดูบอกว่า ถูกแล้ว ต่อไปคุณยังจะโชคดีอีกนะ จื้อเหยินถามว่า ในเมื่อดวงชะตากำหนดไว้แล้ว ทำไมเมื่อได้สร้างบุญกุศลจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ล่ะ? หมอดูกล่าวว่า อันนี้เข้าใจไม่ยาก คือเป็นธรรมชาติของกฏแห่งกรรม สร้างกรรมใดก็ต้องรับกรรมนั้น แม้ว่าโหงวเฮ้งของคุณจะไม่มีบุตรสืบสกุลและอายุสั้น แต่ตอนหลังคุณเกิดมีเมตตาจิต ได้ช่วยชีวิตคน ความมืดมนแห่งชีวิตจึงสลายไป หมดด้วยแสงตะวัน คุณช่วยเขา เขาก็ช่วยคุณ นี่คือ ทำดีได้ดี ต่อมาภรรยาของจื้อเหยินได้ให้กำเนิดบุตรชายห้าคน ส่วนตนเองมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 90 ปี

เขียนไว้บนผืนทราย....ศิลาแห่งความทรงจำ


มีเพื่อนสนิทสองคนที่กำลัง เดินทางอยู่กลางทะเลทรายเมื่อเดินทางไประยะหนึ่ง ก็เกิดการโต้เถียงกัน เพื่อนคนหนึ่งโกรธมากถึงกับตบหน้าเพื่อนอีกคนหนึ่ง เพื่อนคนที่ถูกตบหน้า ไม่ว่าอะไรสักคำเดียว แต่กลับเขียนข้อความไว้ที่พื้นทรายว่า...
"วันนี้เพื่อนรักของฉัน ตบหน้าฉัน" พวกเขาเดินทางกันต่อไป จนกระทั่งพบแหล่งน้ำกลางทะเลทราย พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำที่นั่น เพื่อนคนที่ถูกตบหน้าก็เกิดจมน้ำ โชคดีที่เพื่อนอีกคนช่วยชีวิตไว้ได้ เมื่อเขาหายตกใจจากการจมน้ำ เขาก็จารึกข้อความไว้ที่ก้อนหินไว้ว่า "วันนี้เพื่อนรักของฉัน ช่วยชีวิตฉันไว้" เพื่อนคนที่ช่วยชีวิตเขาและตบหน้าเขารู้สึกแปลกใจใน การกระทำของเขา จึงเอ่ยปากถามว่า...
"ตอนที่ฉันทำร้ายเธอ ทำไมเธอเขียนลงบนพื้นทราย แต่ตอนนี้ทำไมเธอสลักลงบนหิน" เพื่อนอีกคมยิ้มและตอบว่า
"เมื่อเพื่อนทำร้ายเรา เราควรจะเขียนลงบนพื้นทราย เพื่อให้สายลมแห่งการให้อภัยพัดมา และลบมันทิ้งไป แต่เมื่อมีความประทับใจเกิดขึ้น เราควรจะจารึกไว้ใน ศิลาแห่งความทรงจำจากใจ ศิลาแห่งความทรงจำจากใจ ซึ่งสายลมไม่อาจทำให้มันเลือนลางได้"
เรามีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้ามาในชีวิต สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้ คือ ให้จดจำแต่สิ่งดีๆ และให้อภัยกับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น
"เราอาจเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะคิดให้ดีได้"

คุณธรรมที่ควรศึกษา


"... คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ มีอยู่สี่ประการ
ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติ
ปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ การรู้จัก
ข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วง
ความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวาง
ความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคน
พยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้
ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุง
พัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์ ..."

พระบรมราโชวาทเรื่องคุณธรรม ประการนี้ สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมในเรื่อง ฆราวาสธรรม คือ
. สัจจะ มีความจริงใจต่อตนเองที่จะรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับตน
. ทมะ การรู้จักข่มใจตนเองที่จะปฏิบัติตามสัจจะที่กำหนด
. ขันติ มีความอดทนอดกลั้นที่จะปฏิบัติตามสัจจะนั้นให้สำเร็จลุล่วง
. จาคะ การสละความชั่วความทุจริตตามสัจจะนั้นๆ


http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k172/062.html

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง


       การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  การมุ่งมั่นพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตัวเองและคนรอบข้าง  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน  การตัดสินใจ  และการกระทำ

เด็กไทยรู้พอเพียง



                    เด็กไทยรู้อยู่พอเพียง                          ยึดถืออย่างเยี่ยงคำสอน
พอกินพออยู่พอนอน                                    ไม่รีบไม่ร้อนพอดี
                    ใช้เงินใช้ทองรู้ค่า                             ปัญญาพูนเพิ่มศักดิ์ศรี
รู้เก็บรู้จ่ายทั้งปี                                         ชีวีมิมีล่มจม
                    ซื้อเสื้อซื้อผ้าพอใส่                            ไม่มากเกินไปพอสม
เข้าของซื้อตามอารมณ์                                 ต้องตรมระทมอุรา
                    จะกินก็กินพออยู่                             อย่าอวดเลิศหรูหน้าตา
กินดีของมีคุณค่า                                        หลักว่ากินอิ่มพองาม
                    คิดทำการณ์ใดควรดี                          อย่าเห็นช้างขี้ขี้ตาม
การใดไม่ควรวู่วาม                                      รู้ปรามกิเลสแห่งตน
                    ดำรงตนพอประมาณ                         ไม่รานรุกสิทธิชน
รู้ปันรู้ให้ทุกคน                                          ช่วยพ้นหลุดความลำเค็ญ
                    อย่าติดคิดแต่สบาย                           นอกกายเพียงแค่ตาเห็น
หามาตามความจำเป็น                                  ใจเย็นเก็บหอมออมไป
                    วัยเรียนหมั่นเพียรเรียนรู้                     ฟังครูเป็นกิจนิสสัย
ความรู้ที่ครูมอบให้                                      ประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง
                    สำนึกในความพอใจ                          เลือกใช้ทางเดินสายกลาง
ประพฤติเป็นแบบตามอย่าง                            สรรสร้างสังคมไทยไท
                   เศรษฐกิจยึดความพอเพียง                    หล่อเลี้ยงชีวีทุกสมัย
ดำรงตนเยี่ยงอย่างไทย                                 มั่นใจช่วยชาติมั่นคง

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับคุณธรรม ^^


"...ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมาก
สำหรับผู้ที่ ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
เพราะช่วยให้ สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
อันเกิดจากความกินแหนง แคลงใจ
และเอารัดเอาเปรียบกัน..."

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง



ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี


วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้คู่คุณธรรม ^^

         เมื่อความรู้ยอดเยี่ยมสูงเทียมเมฆ   แต่คุณธรรมต่ำเฉกยอดหญ้านั่น
อาจเสกสร้างมิจฉาสารพัน                      ด้วยจิตอันไร้อายในโลกา             
แม้คุณธรรมสูงเยี่ยมถึงเทียมเมฆ           แต่ความรู้ต่ำเฉกเพียงยอดหญ้า
ยอมเป็นเหยื่อทรชนจนอุรา                     ด้วยปัญญาอ่อนด้อยน่าน้อยใจ             
หากความรู้สูงล้ำคุณธรรมเลิศ                 แสนประเสริฐกอปรกิจวินิจฉัย
จะพัฒนาประชาราษฎร์ทั้งชาติไทย          ต้องฝึกให้ความรู้คู่คุณธรรม
              
                                                           (อำไพ สุจริตกุล ประพันธ์)

สิ่งเล็กๆที่เราสามารถทำได้ ^^


การดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม

         การอยู่ร่วมกันในสังคม นอกจากสมาชิกจะปฏิบัติตามกฎระเบียบและสิทธิหน้าที่ของตนเองแล้ว สมาชิกในสังคมควรดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละคนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข สังคมก็มีความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วย คุณธรรมจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นคุณงามความดีที่บุคคลควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสุขความเจริญของตนเองและสังคมส่วนรวม บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองดีควรยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมต่าง ๆ คุณธรรมและจริยธรรมในการที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ การเคารพต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือผู้มีพระคุณ ซึ่งเป็นการ แสดงออกด้วยการทำความเคารพด้วยการกราบ การไหว้ การแสดงการทักทาย เคารพต่อความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล พร้อมทั้ง วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล โดยการตั้งใจฟัง เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของสังคม ไม่กระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมายหรือข้อบังคับของสังคม เคารพในสิทธิของผู้อื่นและ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล เคารพในหน้าที่ของตนเองโดยปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดี ไม่ก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เคารพในมติของเสียงข้างมาก และรับฟังเสียงข้างน้อย เคารพและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ตั้งใจและเต็มใจร่วมกันทำงานจนประสบความสำเร็จ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน อดทนและอดกลั้น รวมทั้งมีความเพียรพยายามในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการประนีประนอม เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยในตนเอง และปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม ทุกคนมีส่วนร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมกันรับผิดชอบ ใช้ปัญญาและเหตุผลในการแก้ไขปัญหา นอกจากการดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว สมาชิกในสังคมควรต้องยกย่อง ชื่นชมบุคคลที่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของชุมชนด้วย เช่น ผู้มีความกตัญญู ผู้ที่มีความเพียรพยายามอย่างสูงจนประสบความสำเร็จ ผู้ที่มีความประพฤติดีงาม ผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ผู้ที่ทำประโยชน์ให้สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ ทั้งนี้เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีคนดีในสังคมเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้คนมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

คำพ่อสอน^^


” . . . ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็ก เพราะว่าต่อไปถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใด ๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้ แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็งในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ นั้นได้ ความเข้มแข็งในใจนั้น หมายความว่า ไม่ท้อถอย และไม่เกิดอารมณ์มาทำให้โกรธ อารมณ์นั้นก็คือ ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความน้อยใจ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คิดไม่ออก . . . ”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๘


http://happyhappiness.monkiezgrove.com/2010/01/09/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/